ศาสตร์พระราชา



“คนไทยมีปัญหาพระราชาก็ทรงคิดหาทางแก้ไขโดยศาสตร์พระราชา”

มีคำกล่าวถึง “ศาสตร์พระราชา” มานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, ศาสตร์พระราชาจากภูผาสู่มหานที ซึ่งในต่างประเทศต่างทราบว่าเป็นแนวคิดตามแนวพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 
ในความคิดแวบหนึ่งคนไทยนี่ช่างโชคดี ที่เจอปัญหาอะไร พระราชาของเราก็หาทางแก้ไขไว้ให้ มีคำถามว่า “คนไทยรู้จักศาสตร์ของพระราชาดีแค่ไหน และเคยนำไปปฏิบัติกันหรือยัง” มาเริ่มต้นที่ตัวเรา และต่อไปก็คนรอบข้าง แล้วขยายออกวงกลางไปสู่สังคมและประเทศชาติในที่สุด
ตัวอย่างปัญหาเช่น ทุกครั้งที่คนไทยมีปัญหา น้ำเสีย น้ำท่วมดินถล่ม ไฟป่า พระองค์ท่านก็จะคิดศาสตร์มาแก้ไข เมื่อประเทศไทยฝนแล้งพระองค์ท่านก็มีศาสตร์ในการทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง ที่เรียกว่า “ฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที” เมื่อประชาชนชาวกทม.น้ำท่วม พระองค์ท่านก็คิดศาสตร์ที่ชื่อว่าโครงการแก้มลิง ที่คลองมักกะสัน เพื่อแก้ไขปัญหา โครงการขุดคลองลัดโพธิ์ หรือ การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ใช้ผักตบชวาที่เรียกว่า “ใช้อธรรมปราบอธรรม” (The use of vice to defeat vice) และก็มีกังหันชัยพัฒนา เติมออกซิเจน
มีคำถามหนึ่งว่า “ทำไมคนไทยรักพระราชาของเขาได้มากขนาดยอมตายแทนได้” คำตอบก็คือพระราชา ทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ และทำเพื่อบำบัดความทุกข์ทุกอย่างของประชาชนตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ กว่า 70 ปี จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องศึกษาศาสตร์แห่งพระราชา และช่วยกันดำเนินการตามรอยพระบาท หรือ “การเดินตามรอยเท้าพ่อ” ที่ต้องศึกษาแนวทาง ที่พระองค์ท่านได้ทรงงานและวางแนวทางหาหนทางแก้ไขปัญหาของประชาชนไว้ ที่ทุกคนรู้จักกันในนาม “ศาสตร์พระราชา” หรือ “ศาสตร์แห่งพระราชา”
ในแง่แนวคิด ปรัชญา และการปฏิบัตินั้น “การรักพระราชาของเรา” นั้นก็คือการปฏิบัติบูชาตามคำสอน หากคนไทยทุกคน ช่วยกันทำ กันปฏิบัติ และขยายผลการปฏิบัติให้กว้างขวาง จะยิ่งเกิดผลดีในการปฏิบัติ “เชิงสัญลักษณ์” มากขึ้น ที่ปกติเหล่าบรรดาข้าราชการและพสกนิกรทั่วไปทุกคนก็ได้ทำกันอยู่แล้ว เช่น คำขวัญ สโลแกน ที่เขียนขึ้นป้าย ติดเสื้อ ติดรถ ต่าง ๆ อาทิ “เราเกิด ในรัชกาลที่ 9” ซึ่งเรียกรวมๆกันว่า “ปฏิบัติบูชา” ช่วยกันทำ สังคมก็จะดียิ่งขึ้น การเขียนให้ดูสวยดูดีดูเท่ห์ แต่ไม่ช่วยกันทำ ช่วยกันปฏิบัติ ก็จะไม่เรียกว่า “รักพระองค์ท่านอย่างแท้จริง”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนำเสนอข้อมูล

ประวัติส่วนตัว

homepage